Crepuscular Ray @ Bangkok 30/10/09 :17.29 pm.
Crepuscular Ray @ Bangkok 1/11/09 :14.56 pm.
Crepuscular Ray @ Bangkok 1/11/09 :16.54 pm.
ลำแสงคเรปูสกูลาร์ Crepuscular Ray
ชื่ออื่น : sunbeams, sunburst, sun rays, Sun Drawing Water, Backstays of the Sun, ropes of Maui, Jacob's Ladder, God Rays, cloud breaks, fingers of god (God's Fingers), Volumetric Lighting, Buddha's Fingers,
Crepuscular Ray เป็นลำแสงอาทิตย์ ที่ดูเหมือนกับจะกระจายออกจากจุดเดียวกัน(ดวงอาทิตย์)บนท้องฟ้า สามารถเกิดหลังก้อนเมฆ หรือวัตถุอื่นๆ ก็ได้ เช่น ต้นไม้ ภูเขา และ อาคาร
คำว่า crepuscular มีที่มาจากเวลาที่มันมักเกิด ที่เรียกว่า crepuscular hours คือในช่วงหลังพระอาทิตย์ขึ้น และก่อนพระอาทิตย์ตก เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว มีความแตกต่างของแสง (contrast) มากนั่นเอง
แม้ว่า Crepuscular Ray จะดูเหมือนกับกระจายออกจากจุดเดียวกัน แต่ที่จริงแล้ว ลำแสงทั้งหลายนี้ขนานกัน (อย่าลืมว่า ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าโลกมากๆ) ภาพลวงตานี้มีสาเหตุมาจาก linear perspective
นอกจากจะเกิดบนท้องฟ้าแล้ว Crepuscular Ray ยังเกิดใต้น้ำได้อีกด้วย เช่น ภายใต้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก
Crepuscular Ray มี 3 ประเภทหลัก :
- ลำแสงที่ลอดจากช่องเปิดหรือรูของเมฆที่อยู่ระดับต่ำ เรียกว่า บันไดของจาคอป (Jacob's Ladder)
- ลำแสงกระจายออกจากหลังก้อนเมฆ
- ลำแสงสีออกชมพูหรือแดง พุ่งออกมาจากใต้ขอบฟ้า ซึ่งมักจะถูกเข้าใจว่าเป็น เสาแสง (Light Pillars)
ทำไมเราถึงเห็นลำแสง?
- เงา (shadow) : จะต้องมีวัตถุที่ปิดกั้นแสง ทำให้เกิดเงามืดระหว่างลำแสง อาจจะเป็น ก้อนเมฆ ต้นไม้ หรือ วัตถุอะไรก็ได้
- การกระเจิง (scattering) : เมื่อแสงส่องผ่านอากาศที่มีอนุภาคเล็กๆ เช่น ฝุ่น จะเกิดการกระเจิง ทำให้เราเห็นลำแสงได้ชัดเจนขึ้น เช่น ลำแสงของไฟหน้ารถที่วิ่งผ่านหมอก หรือฝุ่น
- (Linear Perspective) : เส้นต่างๆ ที่ออกมาจากจุดเดียวกันที่อยู่ไกลมาก จะดูเหมือนกับจะอยู่ห่างกันมากขึ้น เมื่อเข้ามาใกล้กับผู้สังเกตุการณ์ เช่น เสาไฟฟ้า หรือ ถนน
1 ความคิดเห็น:
งามขนาด
ส่องมาอวดบ่อยๆ นะ รอโชมมมมมมมม
แสดงความคิดเห็น