วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
irridescent clouds ( Rainbow Cloud)
Rainbow Cloud @ Bangkok 14/06/09
ปรากฎการณ์ 'เมฆสีรุ้ง' มีชื่อเรียกทั่วไปว่า irridescent clouds ภาษาทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Irisation คือมันเป็นการเกิดสีบนเมฆ ต่างหากจาก ทรงกลดแบบที่เรียกว่า โคโรน่า พวกเฮโลกับโคโรน่านี่เป็นวงกลมอยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงคือ ดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ โคโรน่า จะเป็นวงรัศมีประมาณไม่เกิน ๑๐ องศา(นับจากขอบฟ้าด้านหนึ่งไปด้านตรงข้ามเป็น ๑๘๐ องศา) ส่วน เฮโล จะเป็นวงรัศมี ๒๒ หรือ ๔๕ องศา อันมาจากความแตกต่างของมุมหักเหของแสง ส่วน Irisation นั้น ไม่เป็นวง เป็นแต้มบนเมฆ และจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ประมาณ ๕-๔๕ องศา จะเป็นสีอะไรก็ได้ แล้วแต่ขนาดของเม็ดน้ำ และระยะห่างระหว่างเม็ด เช่น ถ้าเม็ดน้ำอยู่ใกล้กันกว่าความยาวของคลื่นแสง(สีนั้นๆ) มันก็จะโอเว่อร์แล็พ(นึกภาษาไทยไม่ทันค่ะ ขออภัย)กัน แล้วทำให้ออกเหลือบๆดูเป็นสีแบบ metalic แต่บางครั้งจะเห็นเป็นแถบสีอย่างชัดเจนตามส่วนขอบของเมฆ ถ้าปรากฏการณ์นี้อยู่ใกล้ๆกับดวงอาทิตย์ มันก็คล้ายๆกับปรากฏการณ์ ทรงกลด นั่นแหละค่ะ แต่มันเกี่ยวข้องเฉพาะหยดน้ำในก้อนเมฆ ไม่ใช่หยดน้ำในอากาศทั่วไป(ซึ่งแห้งกว่า เลยไม่เห็นเป็นทรงกลดจริงๆ) เห็นเค้าว่า โดยทั่วไป เรามักจะเห็นเป็นสีม่วง กับสีชมพู คลื่นเมื่อมันหักเหแบบ diffraction ออกมาแล้ว มันก็ยังทำการ interference กันอีก แล้วแต่ว่าจะเป็น order ไหนของ interference เราดูได้จากสีของมันค่ะ แล้วก็ยังบอกลักษณะทางกายภาพได้ด้วยว่า หยดน้ำเล็กๆพวกนี้ มัน uniform (คือความเท่าๆกันของขนาดในกลุ่มหยดน้ำเหล่านี้) แค่ไหน หรือกำลังฟอร์มตัวขึ้นมา หรือกำลังระเหยไปอีก
ที่มาข้อมูล : http://sci4fun.com/cloud/cloud.html
Crepuscular Ray
Crepuscular Ray @ Bangkok 30/10/09 :17.29 pm.
Crepuscular Ray @ Bangkok 1/11/09 :14.56 pm.
Crepuscular Ray @ Bangkok 1/11/09 :16.54 pm.
ลำแสงคเรปูสกูลาร์ Crepuscular Ray
ชื่ออื่น : sunbeams, sunburst, sun rays, Sun Drawing Water, Backstays of the Sun, ropes of Maui, Jacob's Ladder, God Rays, cloud breaks, fingers of god (God's Fingers), Volumetric Lighting, Buddha's Fingers,
Crepuscular Ray เป็นลำแสงอาทิตย์ ที่ดูเหมือนกับจะกระจายออกจากจุดเดียวกัน(ดวงอาทิตย์)บนท้องฟ้า สามารถเกิดหลังก้อนเมฆ หรือวัตถุอื่นๆ ก็ได้ เช่น ต้นไม้ ภูเขา และ อาคาร
คำว่า crepuscular มีที่มาจากเวลาที่มันมักเกิด ที่เรียกว่า crepuscular hours คือในช่วงหลังพระอาทิตย์ขึ้น และก่อนพระอาทิตย์ตก เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว มีความแตกต่างของแสง (contrast) มากนั่นเอง
แม้ว่า Crepuscular Ray จะดูเหมือนกับกระจายออกจากจุดเดียวกัน แต่ที่จริงแล้ว ลำแสงทั้งหลายนี้ขนานกัน (อย่าลืมว่า ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าโลกมากๆ) ภาพลวงตานี้มีสาเหตุมาจาก linear perspective
นอกจากจะเกิดบนท้องฟ้าแล้ว Crepuscular Ray ยังเกิดใต้น้ำได้อีกด้วย เช่น ภายใต้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก
Crepuscular Ray มี 3 ประเภทหลัก :
- ลำแสงที่ลอดจากช่องเปิดหรือรูของเมฆที่อยู่ระดับต่ำ เรียกว่า บันไดของจาคอป (Jacob's Ladder)
- ลำแสงกระจายออกจากหลังก้อนเมฆ
- ลำแสงสีออกชมพูหรือแดง พุ่งออกมาจากใต้ขอบฟ้า ซึ่งมักจะถูกเข้าใจว่าเป็น เสาแสง (Light Pillars)
ทำไมเราถึงเห็นลำแสง?
- เงา (shadow) : จะต้องมีวัตถุที่ปิดกั้นแสง ทำให้เกิดเงามืดระหว่างลำแสง อาจจะเป็น ก้อนเมฆ ต้นไม้ หรือ วัตถุอะไรก็ได้
- การกระเจิง (scattering) : เมื่อแสงส่องผ่านอากาศที่มีอนุภาคเล็กๆ เช่น ฝุ่น จะเกิดการกระเจิง ทำให้เราเห็นลำแสงได้ชัดเจนขึ้น เช่น ลำแสงของไฟหน้ารถที่วิ่งผ่านหมอก หรือฝุ่น
- (Linear Perspective) : เส้นต่างๆ ที่ออกมาจากจุดเดียวกันที่อยู่ไกลมาก จะดูเหมือนกับจะอยู่ห่างกันมากขึ้น เมื่อเข้ามาใกล้กับผู้สังเกตุการณ์ เช่น เสาไฟฟ้า หรือ ถนน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)